เกี่ยวกับเรา 
เขียนโดย admin

 เกี่ยวกับโรงพยาบาลบัวเชด

ประวัติอำเภอบัวเชด
ประวัติความเป็นมา รพ.บัวเชด
วิสัยทัศน์(VISION) พันธกิจ(Mission)
ค่านิยมองค์กร(Core Value)
ประเด็นยุทธศาสตร์ เข็มมุ่ง
โครงสร้างองค์กร
มาตรฐานจริยธรรมของบุคลากร
มาตรฐานจริยธรรมองค์กร
ทำเนียบผู้อำนวยการ
คณะกรรมการบริหาร
นโยบายผู้บริหาร
หน้าที่และอำนาจของหน่วยงานตามกฎหมายจัดตั้ง หรือกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
จรรยาบรรณกระทรวงสาธารณสุข (MOPH Code of Conduct)

อินโฟกราฟฟิกคณะกรรมการจริยธรรม ประจำสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ชุดปัจจุบัน

แผนยุทธศาสตร์ชาติ

วัสดุสำนักงาน งานพัสดุ วัสดุทันตกรรม งานทันตกรรม เวชภัณฑ์ยา งานเภสัชกรรม 

โรงพยาบาลบัวเชด บริการตรวจโรคทั่วไป ทุกวันไม่เว้นวันหยุดราชการ ตั้งแต่เวลา 08.00น.-16.00น. 

และให้บริการการงานอุบัติเหตุฉุกเฉิน ทำคลอดตลอด เปิดให้บริการตลอด 24ชั่วโมง ทุกวันไม่เว้นวันหยุดราชการ

งานบริการแพทย์ฉุกเฉิน และส่งต่อผู้ป่วย อาสาสมัครกู้ชีพ ให้บริการประชาชนในชุมชน เบอร์โทรฉุกเฉิน 1669

งานแพทย์แผนไทย ให้บริการนวด ประคบ อบสมุนไพร วันจันทร์-วันศุกร์(วันทำการ) เวลา 08.00น. - 16.00น. และ 16.00น.-20.00น.
วันหยุดนักขัตฤกษ์ ให้บริการเวลา 08.00น. - 16.00น.

 

งานทันตกรรม ให้บริการ อุดฟัน , ถอนฟัน , ขูดหินปูน , เคลือบฟัน , ฟันปลอม
ให้บริการทุกวัน ไม่เว้นวันหยุดราชการ
วันจันทร์, วันพุธ เช้าเวลา 08.15น.-11.30น. บ่ายเวลา 13.00น.-15.30น.
วันอังคาร, วันพฤหัสสบดี เช้าเวลา 08.15น.-11.30น. บ่ายเวลา 13.00น.- 15.30น. วันศุกร์ เวลา 08.15-11.30 น.
วันเสาร์ - วันอาทิตย์ และวันหยุด เวลา 08.15น.-11.30น. บ่ายเวลา 13.00น.-15.30น.

  

เขียนโดย admin

ประวัติอำเภอบัวเชด     

                   พื้นที่อำเภอบัวเชด  เดิมเป็นท้องที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์  แต่มีประชากรอาศัยอยู่น้อยเนื่องจากเป็นป่าและการคมนาคมไม่สะดวกประมาณ ปี พ.ศ.  2430  มีราษฎรประมาณ 5  ครัวเรือน  มีผู้นำครอบครัวคือ           นายบัว  ภรรยา ชื่อ  นางเชด  จึงเรียกชื่อในระยะแรกว่าบ้านตาบัวยายเชด  เป็นที่มาของบ้านบัวเชด  อยู่ในการปกครองของตำบลดม  อำเภอสังขะ  ต่อมาอำเภอสังขะได้แยกตำบลดมออกไปตั้งเป็นตำบลบัวเชด 

                   ปี พ.ศ. 2460  ได้แยกตำบลบัวเชดออกไปตั้งเป็นตำบลสะเดา 

                   ปี พ.ศ. 2511  แยกตำบลบัวเชดออกไปตั้งเป็นตำบลจรัส 

                   ปี พ.ศ. 2521  กระทรวงมหาดไทย  ประกาศแบ่งเขตการปกครอง  อำเภอสังขะ  ตั้งเป็นกิ่ง

                                     อำเภอบัวเชด  ประกอบด้วย  3  ตำบลคือ  ตำบลบัวเชด  ตำบลสะเดา  และ

                                     ตำบลจรัส  ประกอบด้วย  32  หมู่บ้าน  โยตั้งที่ว่าการอำเภอชั่วคราวที่บ้านตาปิม 

                                     ตำบลบัวเชด  โดยอาศัยฐาน  มว.ตชด.305  เป็นที่ทำการ

                   ปี พ.ศ. 2527  กิ่งอำเภอบัวเชดได้รับการยกฐานะเป็นอำเภอบัวเชด

 

สภาพทางภูมิศาสตร์    

                   อำเภอบัวเชดตั้งอยู่ทิศตะวันออกเฉียงใต้ของจังหวัดสุรินทร์โดยมีอาณาเขตติดต่อ  ดังนี้

ทิศเหนือ          ติดต่อเขตตำบลพระแก้ว  อำเภอสังขะ  จังหวัดสุรินทร์

ทิศใต้             ติดต่อกับประเทศกัมพูชา

ทิศตะวันออก     ติดต่อกับตำบลละลม  อำเภอภูสิงห์  จังหวัดศรีสะเกษ

ทิศตะวันตก       ติดต่อกับตำบลดม  อำเภอสังขะ  จังหวัดสุรินทร์ 

ลักษณะภูมิประเทศ

                   อำเภอบัวเชดมีเนื้อที่ประมาณ  479  ตารางกิโลเมตร  อยู่ห่างจากจังหวัดสุรินทร์ประมาณ  70  กิโลเมตร  พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูงสลับกับภูเขา  ด้านทิศใต้บริเวณชายแดนไทย – กัมพูชา  มีความลาดเทจากทิศใต้ไปทิศเหนือ  เป็นแหล่งต้นน้ำไหลผ่านเหมาะแก่การเพาะปลูกพืชไร่  ภูมิอากาศ  ฝนตกชุกระหว่างเดือนกรกฎาคม – กันยายน  อากาศค่อนข้างหนาวเดือนพฤศจิกายน – ธันวาคม  เดือนมีนาคม – พฤษภาคม  อากาศร้อนจัดและมักประสบปัญหาฝนทิ้งช่วง  ทำให้เป็นปัญหาในการเพาะปลูก

 ประชากรและการปกครอง

                   แบ่งเขตการปกครองเป็น  6  ตำบล  68  หมู่บ้าน  6872  หลังคาเรือน  เทศบาล  1  แห่ง  องค์การบริหารส่วนตำบล  6  แห่ง  ประชากรทั้งหมด  37,728  คน  ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ  มีอาชีพเกษตรกรรมและรับจ้าง  ส่วนภาษาที่ใช้ในการสื่อสาร  นอกจากภาษาไทยแล้วจะเป็นภาษาท้องถิ่นคือเขมรสุรินทร์ ภาษลาว  และส่วย  วัฒนธรรมมีความหลากหลายตามกลุ่มภาษาที่ใช้ 

การคมนาคม 

                   เส้นทางการคมนาคมระหว่างจังหวัดและอำเภอเป็นทางลาดยางโดยใช้ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2077  สามารถสัญจรได้สะดวกตลอดปี

เขียนโดย admin

ทำเนียบผู้อำนวยการ โรงพยาบาลบัวเชด

นายแพทย์ประทีป ตลับทอง

ผู้อำนวยการโรงพยาบาลบัวเชด จังหวัดสุรินทร์         

นพ.ประทีป ตลับทอง พ.ศ. 2550 - ปัจจุบัน
นพ.พันตรีศตวรรษ สินประสิทธิ์กุล พ.ศ. 2547 - 2550
นพ.สินชัย ตันติรัตนานนท์ พ.ศ. 2546 - 2547
นพ.อิสระ จำปาเหล็ก  พ.ศ. 2541 - 2546
นพ.พรรณกิจ วนแสงสกุล พ.ศ. 2539 - 2541
นพ.สินชัย ตันติรัตนานนท์ พ.ศ. 2532 - 2539
นพ.อังกูล วานิช พ.ศ. 2531 - 2532
นพ.ไพศาล ร่วมวิบูลย์สุข  พ.ศ. 2530 - 2531
นพ.สุทธิพงศ์ ทัศนียพันธ์ พ.ศ. 2529 - 2530
นพ.โสภณ มุธุสิทธิ์ พ.ศ. 2528 - 2529

 

                             

                         

                         

                                    

                         

                          

                                  

เขียนโดย admin

มาตรฐานจริยธรรมองค์กร

 

  • เจ้าหน้าที่และลูกจ้างต้องจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา  พระมหากษัตริย์
  • เจ้าหน้าที่และลูกจ้างต้องปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มกำลังความสามารถด้วยความเสียสละ ทุ่มเทสติปัญญา  ความรู้ความสามารถตามาภาระหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย  เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประเทศชาติและประชาชน
  • เจ้าหน้าที่และลูกจ้างต้องรักษาและสร้างเสริมความสามัคคีระหว่างผู้ร่วมงาน พร้อมกับให้ความช่วยเหลือเกื้อกูลกันในทางที่ชอบ
  • เจ้าหน้าที่และลูกจ้างต้องประพฤติตนให้สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นด้วยความสุภาพ มีน้ำใจ  มีมนุษยสัมพันธ์อันดีต้องไม่ปิดบังข้อมูลที่จำเป็นในการปฏิบัติงานของเพื่อนร่วมงาน  และไม่นำผลงานของผู้อื่นมาแอบอ้างเป็นผลงานของตน