ประเด็นยุทธศาสตร์ เข็มมุ่ง 
เขียนโดย admin

 เข็มมุ่งองค์กร

เข็มมุ่ง

ความหมาย

1. Health Literacy & Self-Management

ส่งเสริมให้ประชาชนมีความรอบรู้ด้านสุขภาพ และสามารถจัดการตนเองได้

2. 2P Safety

การสร้างความปลอดภัยอย่างเป็นระบบทั้งในการดูแลผู้ป่วย/ผู้รับบริการ

3. Smart personnel

เสริมสร้างบุคลากรให้เก่ง ดี มีสุข ภายใต้ ค่านิยม “TAMDEE”  หรือ “ทำดี” 

4. Good Management and Governance

ระบบบริหารจัดการที่เป็นเลิศภายโดยยึดหลักธรรมมาภิบาล

5. Developing participation and strength of health network partners

พัฒนาการมีส่วนร่วมและความเข้มแข็งภาคีเครือข่ายสุขภาพ

 

ประเด็นยุทธศาสตร์   (Strategic Issue)

  1. ส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค และคุ้มครองผู้บริโภคเป็นเลิศ (Promotion Prevention & Protection Excellence)
  2. บริการเป็นเลิศ (Service Excellence) 
  3. บุคลากรเป็นเลิศ (People Excellence)
  4. บริหารเป็นเลิศด้วยธรรมาภิบาล (Governance Excellence)

 

 

เครื่องชี้วัดระดับนโยบาย (การบรรลุตามยุทธศาสตร์)

1. ส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค และคุ้มครองผู้บริโภคเป็นเลิศ (Promotion Prevention & Protection Excellence) 

      1.1เป้าประสงค์

           1.1.1 ประชาชนในพื้นที่ทุกกลุ่มวัยได้รับการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค คุ้มครองผู้บริโภค และมีสุขภาพดี

           1.1.2 ประชาชนอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีสุขภาพดี

           1.1.3 โรงพยาบาลเป็นต้นแบบสถานบริการที่มีการจัดการสิ่งแวดล้อมและปัจจัยที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ เพื่อบรรลุการมีสุขภาพดี

      1.2 กลยุทธ์

          1.2.1 สื่อสารความเสี่ยง สร้างกระแสเตือนภัยสุขภาพ

          1.2.2 พัฒนาโรงพยาบาลและส่งเสริมเครือข่ายองค์กรต้นแบบสถานบริการมีการจัดการสิ่งแวดล้อมและปัจจัยที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ เพื่อบรรลุการมีสุขภาพดี

          1.2.3 พัฒนาระบบการถ่ายทอดองค์ความรู้ในการจัดการสุขภาพ สร้างสิ่งแวดล้อมที่ที่เอื้อต่อการมีสุขภาพดี

      1.3ตัวชี้วัด และค่าเป้าหมาย

ลำดับ

ข้อมูล/ตัวชี้วัด

เป้าหมายปีปัจจุบัน

ปี 2568

ปี 2569

1

ร้อยละตัวชี้วัดตามแผนงานสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค คุ้มครองผู้บริโภค (ตามตัวชี้วัด สสจ.) ผ่านเกณฑ์ระดับ 5 หรือมีคะแนนสูงสุดของแต่ละ คปสอ.

≥ 90

≥ 95

  100

2

ร้อยละของหมู่บ้านมีพื้นที่สาธารณะเพื่อการมีสุขภาพดี การจัดสภาพแวดล้อมเพื่อผู้พิการและผู้สูงอายุ

≥ 60

≥ 70

≥ 80

3

ระดับการพัฒนา GREEN & CLEAN Hospital

Standard

Excellent

Challenge

 

2. บริการเป็นเลิศ (Service Excellence)

         2.1 เป้าประสงค์

                 2.1.1 องค์กรมีศักยภาพในการให้บริการตามระดับและขนาดของโรงพยาบาล มีระบบการรักษาและส่งต่อที่ได้มาตรฐาน

                 2.2.2 ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการสุขภาพที่มีคุณภาพ และลดค่าใช้จ่ายด้าน สุขภาพลงได้

         2.2 กลยุทธ์

                 2.1.1 พัฒนาระบบงานบริการสุขภาพ (Service Plan) และปัจจัยที่เอื้อต่อการให้บริการที่ดี

                 2.2.2 พัฒนากระบวนการดูแลผู้ป่วยให้ได้มาตรฐาน

                 2.3.3 พัฒนาระบบงานสำคัญของโรงพยาบาล 9 ระบบ

                 2.4.4 ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อสนับสนุนการจัดบริการของโรงพยาบาล

        2.3 ตัวชี้วัด และค่าเป้าหมาย

ลำดับ

ข้อมูล/ตัวชี้วัด

เป้าหมายปีปัจจุบัน

ปี 2568

ปี 2569

1

ร้อยละตัวชี้วัดตามแผนงานบริการเป็นเลิศ (ตามตัวชี้วัด สสจ.) ผ่านเกณฑ์ไม่นอยกว่า ร้อยละ  80

≥ 80

85

90

2

อุบัติการณ์ความเสี่ยงด้านกระบวนการดูแลผู้ป่วย และระบบงานสำคัญของโรงพยาบาล 9 ระบบ ตั้งแต่ระดับ E หรือระดับ 3 ขึ้นไปลดลง

ลดลง

ลดลง

ลดลง

3

ผ่านเกณฑ์โรงพยาบาลอัจฉริยะ (Smart Hospital) ของกระทรวงสาธารณสุข

ระดับเงิน

ระดับทอง

ระดับเพชร

 

3. บุคลากรเป็นเลิศ (People Excellence)

        3.1 เป้าประสงค์

                 3.1.1 มีบุคลากรที่มีประสิทธิภาพ เพียงพอ เหมาะสมกับภาระงาน

                 3.1.2 บุคลากรมีความรู้ ทักษะในการปฏิบัติงานอย่างมืออาชีพ

                 3.1.3 บุคลากรมีความสุขมีแรงจูงใจในการทำงาน และมีความรักความผูกพันทุ่มเทให้กับองค์กร

        3.2 กลยุทธ์

                 3.2.1 วางแผนอัตรากำลัง และสนับสนุนทุนการศึกษาในสาขาขาดแคลน

                 3.2.2 พัฒนาสมรรถนะบุคลากรตามแผน IDP และสร้าง Talent หรือผู้เชี่ยวชาญช่วยขับเคลื่อนองค์กร

                 3.2.3 สร้างแรงจูงใจความรักความผูกพันต่อองค์กร

                 3.2.4 สร้างและปลูกฝังค่านิยมหลัก วัฒนธรรมองค์กร

                 3.2.5 พัฒนาระบบการดูแลสุขภาพตนเอง

                 3.3 ตัวชี้วัด และค่าเป้าหมาย

ลำดับ

ข้อมูล/ตัวชี้วัด

เป้าหมายปีปัจจุบัน

ปี 2568

ปี 2569

1

ร้อยละตัวชี้วัดตามแผนงานบุคลากรเป็นเลิศ (ตามตัวชี้วัด สสจ.) ผ่านเกณฑ์ไม่นอยกว่า ร้อยละ  90

≥ 90

95

100

2

ร้อยละบุคลกรสาขาขาดแคลนได้รับการสนับสนุนและพัฒนาศักยภาพ

80

90

100

3

ร้อยละบุคลากรที่ได้รับการพัฒนาสมรรถนะบุคลากรตามแผน IDP ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด

≥60

≥70

≥80

4

ร้อยละความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากร

≥60

≥70

≥80

5

ร้อยละหน่วยงานที่สามารถสร้างและปลูกฝังค่านิยมหลัก วัฒนธรรมองค์กร

≥60

≥70

≥80

6

ร้อยละบุคลากรมีการดูแลสุขภาพตนเองได้ดีขึ้น

≥60

≥70

≥80

 

 

4. บริหารเป็นเลิศด้วยธรรมาภิบาล (Governance Excellence)

        4.1 เป้าประสงค์

                 4.1.1 โรงพยาบาลใช้หลักคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงาน

                 4.1.2 พัฒนาโรงพยาบาลให้ได้มาตรฐาน HA

                 4.1.3 เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารการเงินการคลังของหน่วยงาน

                 4.1.4 พัฒนาคุณภาพระบบข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพ

                 4.1.5 สร้างการเรียนรู้เพื่อความสมดุลของระบบสุขภาพ

        4.2 กลยุทธ์

                 4.2.1 ส่งเสริมศักยภาพ ของหน่วยงาน และผู้ประสานงาน ITA ระดับหน่วยงาน เพื่อรองรับการประเมินคุณธรรมและความ โปร่งใสในการดำเนินงาน

                 4.2.2 กระตุ้นกิจกรรมคุณภาพขององค์กร

                 4.2.3 พัฒนาระบบควบคุมภายในและระบบตรวจสอบภายในด้วยอิเล็กทรอนิกส์ 5 มิติ

                 4.2.4 พัฒนาการบริหารจัดการด้านการเงินการคลังของหน่วยงาน

                 4.2.5 พัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศด้านสุขภาพ

                 4.2.6 พัฒนางานวิจัยและนวัตกรรมสุขภาพ

        4.3 ตัวชี้วัด และค่าเป้าหมาย

 

ลำดับ

ข้อมูล/ตัวชี้วัด

เป้าหมายปีปัจจุบัน

ปี 2568

ปี 2569

1

ร้อยละตัวชี้วัดตามแผนงานบริหารเป็นเลิศด้วยธรรมาภิ-บาล (ตามตัวชี้วัด สสจ.) ผ่านเกณฑ์ไม่นอยกว่า ร้อยละ  80

≥ 80

85

90

2

โรงพยาบาลผ่านเกณฑ์การประเมิน ITA คะแนน≥ 90

≥ 90

≥ 90

≥ 90

3

โรงพยาบาลผ่านการรับรองมาตรฐาน (HA)

RS2

RS3

RS3

4

ผ่านเกณฑ์ระบบตรวจสอบภายในด้วยอิเล็กทรอนิกส์ 5 มิติ คะแนนเฉลี่ยรวม ≥ ร้อยละ 90

≥ 90

≥ 90

≥ 90

5

คะแนน TPS score (คะแนน)

> 12

> 12

> 12

6

จำนวนครั้งของการเข้าไปเยี่ยมชมเว็บไซต์ของโรงพยาบาล (ครั้ง)

> 5,000

> 5,000

> 5,000

7

หน่วยงานได้รับการเผยแพร่ผลงานด้านวิจัยหรือนวัตกรรมสุขภาพตั้งแต่ระดับจังหวัดขึ้นไป

≥ 5 เรื่อง

≥ 5 เรื่อง

≥ 5 เรื่อง

 

ความได้เปรียบเชิงกลยุทธ์ 

  1. มีบุคลากรที่มีความสัมพันธ์ที่ดีกับชุมชนในทุกภาคส่วน ภาคี เครือข่ายด้านสุขภาพมีความ หน่วยงานต่างๆในอำเภอมีสัมพันธ์ที่ดีอย่างมากจนเป็นวัฒนธรรมของอำเภอ สามารถทำงานร่วมกันอย่างราบรื่น ช่วยเหลือซึ่งกันและกันได้อย่างดี
  2. สภาพภูมิศาสตร์ จำเป็นต้องพึ่งพาระบบบริการทางการแพทย์ของโรงพยาบาลบัวเชด การมอบบริการที่ประทับใจจะส่งผลดีกับมาหาโรงพยาบาลมากยิ่งขึ้น
  3. บุคลากร อาศัยอยู่ร่วมกันในโรงพยาบาลเป็นส่วนมาก มีเวลาในการทำงานทุ่มเทให้กับโรงพยาบาล
  4. มีงบประมาณที่เพียงพอในการพัฒนางานด้านต่างๆ
  5. มีชื่อเสียงของบุคลากรในเรื่องสุขภาพ กีฬา การออกกำลังกาย เป็นแบบอย่างด้านสุขภาพให้กับชุมชนได้อย่างดี

 

ความท้าทายขององค์กร

  1. การเสริมสร้างพลังให้หน่วยบริการปฐมภูมิและชุมชนให้เข็มแข็งสามารถพึ่งตนเองได้ สามารถดูแลประชาชนได้ทุกกลุ่มวัยอย่างมีคุณภาพ
  2. การยกระดับศักยภาพของโรงพยาบาลขนาดกลางให้ สามารถเกิดผลสัมฤทธิ์ในระดับแนวหน้าของโรงพยาบาลระดับเดียวกันในจังหวัดสุรินทร์
  3. การบริหารอัตรากำลังและพัฒนาศักยภาพบุคลากรตามมาตรฐานวิชาชีพอย่างมีประสิทธิภาพ บุคลากรมีความสุข
  4. การพัฒนาระบบบริหารจัดการทรัพยากรขององค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ และมีธรรมาภิบาล
  5. การพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่ทันสมัย มีประสิทธิภาพ    



สมรรถนะหลักองค์กร  (Core Competency) 

  1. มีความสามารถจัดบริการสุขภาพปฐมภูมิตามหลักเวชศาสตร์ครอบครัวที่เชื่อมโยงบริการระดับปฐมภูมิ และทุติยภูมิอย่างเป็นรูปธรรม
  2. มีความสามารถในการจัดการองค์กรด้วยหลักธรรมาภิบาลอย่างมีประสิทธิภาพ
  3. มีความสามารถสร้างการมีส่วนร่วมภาคีเครือข่ายด้านสุขภาพ
  4. มีความสามารถในการดูแลผู้ป่วยตามเกณฑ์การพัฒนา Service Plan จังหวัดสุรินทร์

 

 

ปรัชญาองค์กร

      รักสามัคคี มีปัญญา รู้หน้าที่ มีเหตุผล        

    

คำขวัญ

      บุคลากรดีเป็นศรีแก่โรงพยาบาล บุคลากรฉลาด  และรู้งานโรงพยาบาลเจริญ

 

ความหมาย 

      บุคลากรฉลาด หมายถึง มีความรู้เรื่องโรคภัยสุขภาพ มีสมรรถนะที่ดี มีปัญญา มีความฉลาดทางด้านอารมณ์

      รู้งาน หมายถึง เข้าใจบทบาทหน้าที่

      โรงพยาบาลเจริญ หมายถึง โรงพยาบาลดูแลประชาชนให้มีสุขภาพดีได้อย่างมีประสิทธิภาพ